THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL
การประเมินศักยภาพการทำหน้าที่ของผู้ผสมเกสรกลุ่มผึ้งในด้านการบริการของระบบนิเวศเกษตรของประเทศไทย
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: ผู้ผสมเกสรช่วยรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช ด้วยการทำหน้าที่การบริการในระบบนิเวศ วัตถุประสงค์เพื่อการประเมินมูลค่าการบริการของระบบนิเวศของผู้ผสมเกสรในด้านการควบคุมกลไกทางธรรมชาติและด้านการเป็นแหล่งผลิต
วิธีการ: พื้นที่ศึกษา 6 ภาคของประเทศไทย จำนวน 16 จังหวัด เก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 29 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เครื่องมือวิเคราะห์เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดมูลค่ารวมทางเศรษฐกิจของสิ่งแวดล้อม
ผลการศึกษา: ศักยภาพของผู้ผสมเกสรด้านการควบคุมกลไกทางธรรมชาติ พบผึ้งมีศักยภาพการทำหน้าที่ช่วยผสมเกสรมีมูลค่ามากที่สุดในสวนลำไย 68 กิโลกรัม/ไร่ และชันโรงมีพบในสวนลิ้นจี่ผสมผสาน 359.34 กิโลกรัม/ไร่ ด้านการเป็นแหล่งผลิตพบผึ้งมีศักยภาพในรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตมากที่สุด คือ ลำไย 13,080 บาท/ไร่ และชันโรงพบในสวนลิ้นจี่ผสมผสาน 15,734.43 บาท/ไร่/ปี ด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของผึ้ง พบกำไรมากที่สุดคือ ผึ้งหลวง 1,183.93 บาท/รัง/ปี รองลงมาคือ ผึ้งพันธุ์ 742.16 บาท/รัง/ปี ชันโรง 517.83 บาท/รัง/ปี และผึ้งโพรง 337.96 บาท/รัง/ปี
สรุป: มูลค่าที่ประเมินออกมาเป็นเป็นตัวเงิน ช่วยแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและศักยภาพของผู้ผสมเกสรกลุ่มผึ้งที่ทำหน้าที่ช่วยผสมเกสรของดอกไม้ของพืช ด้วยการทำหน้าที่ควบคุมกลไกทางธรรมชาติในระบบนิเวศ ดังนั้น การตระหนักในการทำหน้าที่ของผู้ผสมเกสรเหล่านี้ ต้องมีการรักษาระบบนิเวศในแปลงให้ปลอดสารเคมี ช่วยให้ผู้ผสมเกสรทำหน้าที่ช่วยผสมเกสรและขยายพันธุ์พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: มูลค่าที่เป็นตัวเงิน; ด้านการควบคุมกลไกทางธรรมชาติ, ธุรกิจการเกษตร