THAI FOREST ECOLOGICAL RESEARCH JOURNAL

ISSN 2586-9566 (Print) ISSN 2985-0789 (Online)

การจัดกลุ่มหมู่ไม้ และการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

ดอกรัก มารอด ประทีป ด้วงแค จักรพงษ์ ทองสวี วงศธร พุ่มพวง สถิตย์ ถิ่นกำแพง อนุสรณ์ กุลวงษ์ และ สุธีระ เหิมฮึก
1
*ผู้รับผิดชอบบทความ: อีเมล: h.sutheera@gmail.com
บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการจัดจำแนกกลุ่มหมู่ไม้ หลังจากการกันไฟในป่าเต็งรัง และการประเมินการกักเก็บคาร์บอนของหมู่ไม้แต่ละกลุ่มของป่าเต็งรัง ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ สกลนคร โดยทำการวางแปลงอย่างเป็นระบบ ขนาด 40 เมตร x 40 เมตร จำนวน 16 แปลง ในจำนวน 4 แนวสำรวจ โดยแต่ละแนวสำรวจประกอบด้วย 4 แปลงตัวอย่าง และแต่ละแปลงตัวอย่างและแนวสำรวจห่างกัน 10 เมตร ทำการวัดขนาดความโตและความสูงทั้งหมดของต้นไม้ทุกชนิดที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 4.5 เซนติเมตร ผลการศึกษา พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 65 ชนิด 52 สกุล 29 วงศ์ การจำแนกสังคมย่อยด้วยวิธีการวิเคราะห์การจัดกลุ่มของหมู่ไม้ (cluster analysis) โดยโปรแกรม PC-ORD ด้วยการจัดกลุ่มตามค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงที่ระดับ 50 เปอร์เซ็นต์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 สังคมย่อย ซึ่งไม้เด่นในอันดับต้น ๆ ของแต่ละสังคมย่อยนั้นไม่แตกต่างกัน ได้แก่ รัง (Shorea siamensis) เต็ง (Shorea obtusa) และแดง (Xylia xylocarpa var. xylocarpa) ตามลำดับ ส่วนสาเหตุที่ทำให้หมู่ไม้ต่าง ๆ ใน 4 สังคมย่อยแยกออกจากกัน เนื่องจากมีพันธุ์ไม้ที่มีความเด่นในอันดับรองลงมาในแต่ละกลุ่มแตกต่างกัน เช่น ติ้วส้ม (Cratoxylum formosum) อะราง (Peltophorum dasyrrhachis) และกระท่อมหมู (Mitragyna rotundifolia) ซึ่งพบชนิดพันธุ์ดังกล่าวหลังจากการป้องกันไฟในพื้นที่ ในส่วนของการประเมินปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดินรวมทั้ง 4 สังคมย่อย เท่ากับ 118.11 ? 9.29 ตัน/เฮกแตร์ และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือพื้นดินรวมทั้ง 4 สังคมย่อยเท่ากับ 55.51 ? 4.37 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ โดยสังคมย่อยที่มีเหมือดโลด (Aporosa villosa) เป็นองค์ประกอบชนิดพรรณย่อยมีปริมาณมวลชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนมากที่สุด โดยมีค่าเท่ากับ 131.35 ? 29.65 ตัน/เฮกแตร์ และ 61.73 ? 13.94 ตันคาร์บอน/เฮกแตร์ ตามลำดับ

คำสำคัญ:


Download full text (Thai pdf): 12 clicks